top of page
Search

Sirisak Siriraj 110 - Medical Genetic

  • suwaratgolf
  • May 18, 2017
  • 2 min read

"แนะนำน้องๆว่า มาเรียนเถอะเรียนจบแล้ว

หางานทำสร้างเสริมประสบการณ์

เลือกสิ่งที่เราสนใจแล้วตั้งใจทำมันแต่อันนั้นไม่ต้องแคร์เพราะระบบ

ที่ต้องให้เราเก่งหมดทุกอย่างมันเป็นระบบที่ผิด

พอเรามีฉันทะ วิริยะ, จิตตะ, กับวิมังสาก็จะตามมา"

Q: สวัสดีครับ ช่วยแนะนำตัวหน่อยครับ

ชื่อเก่งแต่เพื่อนศิริราช (ซีรี่ส์) เรียก 'เก่งแฮ่น' แฮ่นในภาษาเหนือแปลว่า 'แรด' แต่ตัวจริงเป็นคนกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออกเกิดขนบความเป็น 'ไทย' เพื่อนๆจึงตั้งสมัญญานามว่าเก่งแฮ่น ชื่อจริงคือ ศิริศักดิ์ จันทร์ประเสริฐ เวลา search ใน PubMed ให้ใช้ Sirisak Chanprasert

ปัจจุบันเป็นครูแพทย์ (attending physician) อยู่ที่สาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์ (Division of Medical Genetics) ภาควิชาอายุรศาสตร์ (Department of Medicine) คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลมหาลัยวอร์ชิงตัน (University of Washington School of Medicine AKA UW Medicine) มหาลัยวอร์ชิงตัน (University of Washington AKA UW หรือ Udub) ในเมือง Seattle แต่พี่ไม่ใช่ alumnus ของมหาวิทยาลัยที่ไหนในอเมริกาเพราะพี่เขื่อว่าจะเรียกตัวเองว่าเป็น alumnus ได้นั้นต้องจบ undergrad เท่านั้น

อนึ่ง University of Washington กับ Washington University in St. Louis ไม่ใช่ที่เดียวกัน อย่างหลังอยู่ที่เมือง St. Louis (ลู-อิ๊ด ไม่ต้องออกเสียง 'S' ท้ายคำเพราะเป็นคำยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส)

เวลาว่างชอบอ่านหนังสือจำพวกประวัติศาสตร์, ศาสนา, มานุษยวิทยา, วรรณคดี, ภาษาศาสตร์, และนิยายจากนักเขียนที่ได้รางวัลพูลิทเซอร์ เพราะมันคือ L'oreal คุณค่าที่ดิฉันคู่ควร

Q: มีกี่คนในอเมริกาครับ ที่ได้ถือ 3 Board แบบนี้ (ได้ยินว่าหายากกว่าประชากรแรดเผือก)

จบ Internal Medicine ที่ Bassett, Medical Genetics ที่ Baylor, และต่อ fellow Medical Biochemical Genetics ที่ Baylor (ที่อเมรี่ Medical Genetics ถือเป็น second resident ไม่ใช่ fellow) ตั้งแต่ปี 1982 เป็นต้นมามีหมอที่จบสามบอร์ดทั้งหมด 5 คน (ยืนยันจาก American Board of Medical Genetics and Genomics) ตั้งแต่แม่น้ำ Mississippi ไปทางตะวันตกจรด Pacific Ocean มีพี่อยู่คนเดียว

อ้อปีสุดท้ายของการเรียนอันยาวนานได้เป็น non-ACGME accredited mitochondrial medicine fellow ที่ Seattle Children's Hospital/Seattle Children's Research Institute

ไม่ใช่แรดเผือกค่ะแต่เป็น White Rhino sub species northern เพราะทั้งโลกเหลืออยู่ 6 ตัว (ข้อมูลปี 2015)

Q: ตอนนี้ ที่ทำงานเป็นยังไง ดูคนไข้แบบไหน ครับ

ตอนเซ็นสัญญาก็บอกทางสาขาวิชาไปว่าไม่ขอทำวิจัย basic science ใดๆทั้งสิ้นเพราะเบื่อและขี้เกียจขอ NIG grant พี่จึงได้เป็น assistant professor without tenure ใน clinical/education tract

คนไข้ที่ดูส่วนใหญ่เป็นคนไข้โรงมะเร็งที่มีประวัติครอบครัวหรือประวัติส่วนตัวแล้วต้องการรู้ว่ามี genetic predisposition หรือไม่ ถัดมาก็กลุ่ม hereditary connective tissue diseases เช่น Marfan syndrome, Ehles Danlos syndrome, Loey Dietz syndrome, หรือพวก aortopathy กลุ่มที่ 3 ก็ cardiogenetics จำพวก cardiomyopathies และ arrhythmopathies กลุ่มที่ 4 คือ

metabolic และ mitochondrial diseases ก็พวก lysosomal storage diseases เป็นต้น ที่เหลือก็เป็นโรคที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

อนึ่งตอนนี้ทางสาขากำลังจะตัดริบบิ้นเปิดตัว mitochondrial center of excellence และมีแผนจะทำ mitochondrial medicine lab ที่รับตรวจ electron transport chain (ETC) assay และ muscle biopsy immunohistochemistry เป็นอาทิ

Q: สำหรับคุณเก่ง การทำงานใน University of Washington มีข้อดียังไงครับ แล้วมีส่วนไหนที่ค่อนข้าง Challenging

ข้อดีคือ adult metabolic disease กำลังบูมเพราะคนไข้โรคพันธุกรรมเมตาบอลิคกำลังโตเป็นผู้ใหญ่แต่มีหมออายุรศาสตร์น้อยคนมากๆที่สนใจ ฉะนั้นพี่จึงเป็น national expert ไปโดยปริยายซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่ได้เก่งขนาดนั้น

มี potential ในการทำ clinical research จำพวก natural history และ multi center trial ที่บริษัทยา support และทำให้พี่ต้องค้นหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

ที่ challenge คือตอนสอน นศพ, เรซซี่, และเฟลโล่ว์ คือต้องพูดภาษาอังกฤษยังไงให้คนเหล่านี้เข้าใจ (อยากฝากบอกน้องๆว่าอย่าใช้ข้ออ้างว่าเราเป็นคนไทยเลยพูดภาษาอังกฤษได้เท่านี้ เราต้องขวนขวายเพื่อพูดอังกฤษสื่อสารและสอนคนได้แบบ perfect หรือ near perfect ไม่อย่างนั้นก็กลับไปทำงานเมืองไทยจะดีกว่า; แนะนำให้ไปทำ speech therapy ทำลายสำเนียง พี่ใช้ medical insurance ไปทำซึ่งมัน cover ด้วย)

ข้อดีของการทำงานที่ UW คือมันใหญ่มาก มีคนไข้มากมาย refer มาที่คลินิคเต็มไปหมด มีคนเก่งๆเยอะและมีคนที่มีความสามารถเฉพาะทางแบบเฉพาะทางจริงๆให้ชื่นชมและเลียนแบบเพราะฉะนั้นเราต้องทำตัวให้ active ตลอดเวลา

ที่ UW มีระบบ mentor-mentee คือพี่ต้องคุยกับ mentee ทุกเดือนว่าตอนนี้มี project อะไรบ้าง, มีปัญหาอะไรไหม, หรือไม่ก็ถูกฟีดแบคว่าเขียนโน้ตเป็นไง, มีคนไข้หรือเพื่อนร่วมงานกร่นด่าหรือเปล่า เป็นต้น ต้องส่ง CV และ Individual Career plan ไปให้ faculty committee รีวิวทุกเตตระมาส ซึ่งมันทำให้เราเฉื่อยชาไม่ได้

Q: คิดว่าระบบการ training ในไทยกับอเมริกาแตกต่างกันอย่างไรครับ

ต่างกันราวฟ้ากับเหว

ระบบการ training ในไทยห่วยแตกแทบจะทุกองคาพยพ ตั้งแต่การไปใช้ทุนเพิ่มพูนทักษะซึ่งไม่ต่างอะไรกับการไป mal แบบมีกฎหมายรองรับและการที่เราถูกล้างสมองให้หลงคิดว่าเราเป็นคนเก่งฟ้าประทานออกไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ขาดความช่วยเหลือซึ่งเอา

เข้าจริงเราไม่รู้อะไรเลย นี่ยังไม่นับที่ไม่มี staff คอยดูแลอย่างจริงจัง

ระบบการให้ทุนแพทย์เฉพาะทางตามรพ.อำเภอที่ไม่มีศักยภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมให้แก่หมอเฉพาะทางซึ่งส่งผลให้หมอที่เรียนจบมาลาออก แต่กระทรวงก็ยังดื้อรั้นทำแบบเดิมๆ (stupidity does as stupidity is, Forest Gump once said)

ระบบทาสที่ใช้งานแพทย์เฉพาะทางโดยไม่มีวันหยุด

ระบบเจ้าขุนมูลนายที่ต้องคอยพินอบพิเทาและ/หรือเป็นสนามอารมณ์ให้แก่อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ที่เก่งไปหมดทุกเรื่อง

ระบบการประเมินฝ่ายเดียวที่ไม่ยอมให้เรซซี่หรือเฟลโลว์ได้ฟีดแบคอาจารย์

ระบบ medical record ที่ยังเป็น analog ต้องจ้างกรมศิลปากรมาอ่านลายมือ

ระบบความคิดที่ว่าการซักประวัติตรวจร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด (ไม่เถียงว่าไม่สำคัญแต่ปัจจุบันก็มีการวิจัยออกมาแล้วว่าการตรวจร่างกายบางอย่างมันไม่ sense และ spec เท่ากับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ) ควรจะสอน localize lesions ทางนิวโรแบบพอเป็นพิธีแล้วสอนวิธีดู brain MRI ให้เก๋ๆ โดยส่วนตัวคิดว่าเรซซี่และเฟลโลว์น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า

อ้อแล้วที่บอกว่าหมออเมรี่ไม่ได้ดูคนไข้แบบองค์รวมไม่เก๋แบบหมอไทย อันนี้ไม่จริงเพราะพี่ได้วิธีการตรวจคนไข้อย่างละเอียด, การ approach แบบ professional, และยังได้รับการปฏิบัติแบบเห็นเรซซี่และเฟลโลว์เป็นเพื่อนร่วมงานไม่ใช่ทาสที่จะดุด่าว่ากล่าวอย่างไรก็ได้จากที่นี่ที่อเมริกา

ป.ล.นี่คือความเห็นส่วนตัว นอกจากเก่งแฮ่นแล้วยังมีอีกชื่อที่เพื่อนเรียกคือ 'ลิเบอร่าน'

Q: ช่วยแชร์ประสบการณ์ สนุกๆ ช่วงเรียนหรือทำงานมาสัก เรื่องครับ

ตอนเป็นเรซซี่ที่ Baylor มีเรซซี่เด็กโทรมาบอกว่ามีคนไข้เป็นนู่นนี่นั่น พอฟังจบปุ๊บก็บอกแก่หมอเด็กทันทีว่าคนไข้เป็นโรค Aicardi Goutieres syndrome แล้วอาจารย์ก็เห็นด้วย ส่งยีนส์ตรวจแล้วผลก็ออกมาดังว่า เป็นอะไรที่ภูมิใจมาก

อนึ่งพี่ไม่ได้เก่งมากขนาดนั้นแต่พี่สนใจในวิชาเจเน่ตั้งแต่ปี 3 และก็อ่านหนังสือในห้องสมุดศิริราชที่เกี่ยวกับโรคเด็ก, อายุรศาสตร์, โรคพันธุกรรม, และโรคเมตาบอลิคตั้งแต่นั้นมา ตอนขึ้นคลินิคก็บอกเพื่อนพี่ที่สนิททุกคนหากใครเจอโรคแรร์ให้โทรมาแล้วก็ขึ้นไปดู เด็กๆที่เป็นโรคพวก lysosomal storage disease เนี่ยะดูมาหมดแล้วที่ศิริราช เวลาตอบข้อสอบหรืออาจารย์ถามพี่จะนึกถึงโรคแรร์ก่อนเสมอ (โดนเพื่อนๆค่อนขอดอยู่เป็นประจำ) เวลาวนไปวิชาไหนก็จะสอบให้พอผ่านแต่จะต้องอ่านหนังสือโรคพันธุกรรมตลอด เคยโดนเด้นท์ศัลย์ด่าว่าเป็นคนที่เย็บแผลห่วยที่สุดตั้งแต่เห็นมา (อิชั้น no แคร์ no สน) มั่นใจว่าตอนเรียนจบเมื่อปี 2005 อ่านหนังสือเกี่ยวกับเจเน่และโรคแรร์ทั้งหมดที่มีในศิริราช ตอนออกไปใช้ทุนที่ศรีสะเกษก็วินิจฉัยโรคโดยคิดถึงโรคแรร์ก่อนตลอดแม้กระทั่งทุกวันนี้ก็เป็น

อย่างนั้น

Q: อยากให้แชร์ ประสบการณ์ เรื่อง การขอ วีซ่า O1 ครับ

O1 ไม่ได้ยากแต่ก็ไม่ง่าย แนะนำให้ปรึกษาทนายที่เชื่อถือได้และมีชื่อเสียงอย่างน้อยก็ให้เขารีวิว CV ดูว่าพอจะผ่านหรือไม่ ตกลงกับทางมหาลัยว่าใครจะเป็นคนทำให้ ถ้าให้หาทนายทำเองอันนี้ก็ง่ายหน่อยเสียเงิน (ประมาณ 10,000 USD) นอนกระดิกนิ้วอยู่บ้าน ถ้าทางที่ทำงานจะหาทนายให้ก็โอแต่ของพี่ฝ่าย international scholar เป็นคนทำให้ สิ่งที่ต้องทำคือ build up CV เขียนเปเปอร์เยอะๆ ส่ง abstract ไป present งานต่างๆถ้าได้ขึ้น platform presentation จะดีมาก ทำวิจัยร่วมกับ attendings แล้วเอามาเขียนใน CV ส่งใบสมัครเป็น reviewer ตาม journal ต่างๆ ถ้าได้รับเชิญให้ไปพูดด้วยยิ่งดี ทำเป็น port folio เก็บไว้ แล้วส่วนสำคัญคือต้องแต่งจดหมาย ต้องเขียนไปเลยว่าเราเป็นที่หนึ่งในหล้าประมาณนี้ ถ้าใครต้องทำ O1 หลังไมค์มาจะให้ template และคำแนะนำแบบไม่คิดราคา

Q: สุดท้ายนี้ มีคำแนะนำฝากถึงพี่ๆ น้องๆ นี่มีแพลนมาเรียนต่อที่อเมริกาบ้างครับ

มาเรียนเถอะเรียนจบแล้วหางานทำสร้างเสริมประสบการณ์ เลือกสิ่งที่เราสนใจแล้วตั้งใจทำมันแต่อันนั้นไม่ต้องแคร์เพราะระบบที่ต้องให้เราเก่งหมดทุกอย่างมันเป็นระบบที่ผิด (อย่างน้อยก็ในความคิดของพี่) พอเรามีฉันทะ วิริยะ, จิตตะ, กับวิมังสาก็จะตามมา

พี่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ใช้เวลา 2 ปีกับอีก 4 เดือน ทุกคนมีศักยภาพ มีอะไรก็ถามได้


 
 
 

コメント


RECENT POSTS:
SEARCH BY TAGS:

© 2023 by NOMAD ON THE ROAD. Proudly created with Wix.com

  • b-facebook
  • Twitter Round
  • Instagram Black Round
bottom of page